วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4 ซอฟต์แวร์ระบบ




ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา


            1.1 OS (Operating System)

1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียนย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

1.ดอส  (Disk Operating System : DOS)  เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2.วินโดวส์ (Windows)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ ทำใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายวินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3.โอเอสทู (OS/2)  เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4.ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั่งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
5.แมคอินทอช (macintosh)  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ macintosh ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่าง ๆ นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา


ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน
คือ
 1.   ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand-alone  OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว(เจ้าของเครื่องนั้นๆ)  นิยมใช้สำหรรรรรรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสำนักงาน  ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้ใช้รองรับการทำงานบางอย่าง  เช่น  พิมพ์รายงาน  ดูหนังหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น  ปัจจุบันพัฒนาให้มมมมีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการ  จากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
          2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย  (network OS)  เป็นระบบการที่มุ่งเน้นและบริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน(multi-user)  นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ  มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง  sever  ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ  ที่จำเป็นสำหรับผุ้ใช้นั่นเอง
          3.  ระบบปฏิบัติการแบบฝัง   (embeded OS)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือSmart phone บางรุ่น  สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี  เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น  บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง  ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

2. ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบันเช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษซี และภาษาโลโก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น